เมนู

ทั้งหลาย เธอย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ-
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิด
ขึ้นแห่งอาสวะ นี้ความดับไปแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อ
เธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ความรู้ว่า หลุดพนแล้วย่อมมี ย่อม
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี นี้คือการได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น นักรบ
อาชีพนั้น เห็นปลายธุลี ปลายธง ได้ยินเสียงพลนิกายอึกทึก ถูกอาวุธเล็กน้อย
ย่อมอดทนได้ บุคคลนั้นชนะสงครามแล้ว ชื่อว่าผู้มีสงครามอันชนะวิเศษแล้ว
ย่อมบรรลุความมีชัยในสงครามนั้นนั่นแล แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
บุคคลบางคนแม้เห็นปานนี้ ย่อมมีในโลกนี้ บุคคลเปรียบด้วยนักรบอาชีพ
ที่ 5 นี้ มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ.

บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ
อยู่ในหมู่ภิกษุ.


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวก


วินิจฉัย ในบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ. บทว่า "โยธาชีวา"
ได้แก่ บุคคลผู้เข้าไปอาศัยการรบเลี้ยงชีพเป็นอยู่. บทว่า "รชคฺคํ" ได้แก่
กองธุลีที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดิน ที่ช้างม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ. บทว่า "น สนฺถมฺภติ"
ได้แก่ ครั้นกระด้างแล้วย่อมไม่อาจเพื่อจะตั้งมั่นได้. สองบทว่า "สหติ
รชคฺคํ"
ความว่า นักรบบางพวกแม้เห็นกองธุลีที่ฟุ้งขึ้นไปจากแผ่นดินที่
ช้างม้าเป็นต้น เหยียบย่ำ ยังอดทนได้. บทว่า "ธชคฺคํ" ได้แก่ ยอดธง

ทั้งหลายที่เขายกขึ้นบนหลังช้าง ม้า หรือบนรถ. บทว่า "อุสฺสาทนํ" ได้แก่
เสียงสูงเสียงใหญ่ของช้างม้ารถ และพลนิกาย. บทว่า "สมฺปหาเร" ได้แก่ ครั้น
เมื่อการประหารแม้มีประมาณน้อยที่มาถึงแล้ว. บทว่า "หญฺญติ" ได้แก่ ย่อม
เดือดร้อน คือ ถึงความระส่ำระสาย. บทว่า "พฺยาปชฺชติ" ได้แก่ ย่อมถึง
ความวิบัติ คือ ย่อมละปกติภาพ. สองบทว่า "สหติ สมฺปหารํ" ความว่า
นักรบอาชีพนั้นแม้ถูกประหารสองสามครั้ง ยังอดทน คือยังทนได้. สองบทว่า
"ตเมว สงฺคามสีสํ" ได้แก่ ที่นั้นนั่นแหละเป็นที่ตั้งค่ายรบอันมีชัย. บทว่า
"อชฺฌาวสติ" ได้แก่ ย่อมอยู่ครอบครองประมาณ 7 วัน. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? แก้ว่า เพื่อต้องการรักษาเขตประหารของชนที่ได้ประหารไปแล้ว เพื่อ
ทราบความต่างกันของกรรมที่ชนกระทำแล้วจึงให้ฐานันดร และเพื่อต้องการ
เสวยความสุข คือ ความเป็นใหญ่. บัดนี้ กิจด้วยความเป็นนักรบอาชีพของ
พระศาสดาไม่มี แต่เพื่อจะแสดงบุคคล 5 จำพวกในพระศาสนานี้ พระองค์
จึงตรัสคำว่า "เอวเมวํ" เป็นต้นมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สํสีทติ" ได้แก่ จมอยู่ คือ ย่อมตกไป
ในมิจฉาวิตก. ข้อว่า "น สกฺโก พฺรหฺมจริยํ สนฺตาเนตุํ" ความว่า ย่อม
ไม่อาจเพื่อรักษาการประพฤติพรหมจรรย์ อันไม่ขาดสายได้. สองบทว่า
"สิกฺขาทุพฺพลยํ อาวิกตฺวา" ได้แก่ ประกาศความที่สิกขาเป็นสภาพมีกำลัง
ทราม. ข้อว่า "กิมสฺส รชคฺคสฺมึ" ความว่า ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าปลายธุลี
ของบุคคลนั้น เป็นอย่างไร ? บทว่า "อภิรูปา" แปลว่ารูปงาม. บทว่า
"ทสฺสนียา" ได้แก่ ควรจะดู. บทว่า "ปาสาทิกา" ได้แก่ นำความ
เลื่อมใสมาสู่จิตด้วยการเห็นนั่นแหละ. บทว่า "ปรมาย" ได้แก่ สูงที่สุด.
บทว่า "วณฺณโปกฺขรตาย" ได้แก่ ด้วยวรรณแห่งสรีระ และสัณฐานแห่ง

อวัยวะ. บทว่า "โอสหติ" ได้แก่ ย่อมอดทน. บทว่า "อุลฺลปติ" แปลว่า
ย่อมกล่าว. บทว่า "อุชฺขคฺฆติ" ได้แก่ ตบมือแล้วหัวเราะใหญ่. บทว่า
"อุปฺผณฺเผติ" ได้แก่ ย่อมกล่าวคำเยาะเย้ย. บทว่า "อภินิสีทติ" ไค้แก่
ผู้ชนะแล้วนั่งในสำนักหรือในอาศรมเดียวกัน. แม้ในบทที่ 2 ก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า "อชฺโฌตฺถรติ" ได้แก่ ย่อมปูลาด. สองบทว่า "วินิเวเธตฺวา2
วินิโมเจตฺวา"
ได้แก่ เปลี่ยนแปลง ปลดและเปลื้องมือของเขาจากที่อัน
มาตุคามจับแล้ว. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

[145] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ลือบิณฑบาตเป็นวัตร
5 จำพวก เป็นไฉน ?

1. ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย.
2. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากได้เข้าครอบงำ
จึงถือบิณฑบาตเป็นวัตร.
3. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า คือ มีจิตฟุ้งซ่าน.
4. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะคิดว่าองค์แห่งภิกษุ ผู้ถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรนี้ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.
5. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ
อันงามนี้อย่างเดียว.

1. บาลีว่าอูสหติ. 2. วินิเวเฐตฺวา

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติ
อันงามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ ประเสริฐสุด เป็นประมุข
เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ ในบรรดาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5
จำพวกเหล่านั้น. น้ำนมเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากน้ำนม เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ก้อนเนยใสเกิดจากเนยใสบรรดาเภสัช 5 นั้น
ก้อนเนยใสชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรนี้
ใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว
เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว
เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้อย่างเดียวก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริบสุด เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ
ในภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5 จำพวกเหล่านี้.
ภิกษุ 4 จำพวกเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร.

อรรถกถาบุคคลผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร 5 จำพวก


วินิจฉัย ในภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ผู้ถือการฉันภัตตาหารที่
ได้มาจากการบิณฑบาต. สองบทว่า "มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา" ได้แก่ ย่อม
ไม่รู้จักการสมาทาน และไม่รู้จักอานิสงส์. อธิบายว่า ก็ภิกษุผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรด้วยความไม่รู้นั่นแหละ เพราะความที่เป็นคนโง่งมงาย. สองบทว่า
"ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต" ความว่า ชนทั้งหลายจะทำการสักการด้วย
ปัจจัย 4 แก่เราผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ด้วยการคิดว่า "สโต อยํ
ปิณฺฑปาติโก"
ซึ่งแปลว่า ภิกษุนี้ มีสติ เป็นผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร.